สำหรับผู้ใช้ระบบปฎิบัติการวินโดวส์ (Windows) ที่มีอยู่เป็นอย่างมากในปัจจุบันนั้น อาจจะเคยสงสัยเวลาที่ทำการดาวน์โหลดหรือติดตั้งโปรแกรมบางตัว โดยโปรแกรมนั้นมีให้เลือกว่า แบบ 32 บิต และ 64 บิต ก็เลยสงสัยว่า แล้วมันคืออะไร เหมือนหรือต่างกันอย่างไร แล้วเครื่องของเราล่ะ เป็น Windows แบบ 32 บิตหรือ 64 บิต? วันนี้มานาคอมพิวเตอร์ขอแนะนำข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้นะครับ
คำว่า 32 บิต และ 64 บิต คืออะไร?
คำว่า 32 บิต และ 64 บิต หมายถึงวิธีการที่ตัวประมวลผลของคอมพิวเตอร์ (หรือเรียกอีกอย่างว่า CPU) จัดการกับข้อมูล รุ่น 64 บิตของ Windows จะจัดการกับหน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (RAM) ขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่ารุ่น 32 บิต
แล้วโปรแกรมแบบ 64 บิต ใช้งานบน Windows 32 บิตได้ไหม?
- ถ้าโปรแกรมแบบ 64 บิต ใช้งานบน Windows 32 บิต -ไม่ได้
- แต่ถ้าเป็นโปรแกรมแบบ 32 บิตและ 64 บิต สามารถใช้งานบน Windows 64 บิต -ได้
วิธีตรวจสอบว่าคอมพิวเตอร์ของคุณใช้ Windows รุ่น 32 บิตหรือ 64 บิต
สำหรับวิธีการตรวจสอบว่า คอมพิวเตอร์ของคุณใช้วินโดวส์แบบไหน สามารถตรวจสอบได้ดังนี้ครับ
ในกรณีที่คอมพิวเตอร์ของคุณใช้ Windows XP
ให้คุณมองหาไอคอนที่มีคำว่า My Computer (คอมพิวเตอร์ของฉัน) โดยไอคอนนี้จะอยู่หน้าจอหลัก (Desktop) แล้วทำการคลิ้กขวาที่ไอคอน เลือกคำว่า คลิก เริ่ม คลิกขวาที่ คอมพิวเตอร์ของฉัน แล้วคลิก คุณสมบัติ
- ถ้ามี “รุ่น x64” แสดงอยู่ภายใต้ ระบบ แสดงว่าคอมพิวเตอร์ของคุณใช้ Windows XP รุ่น 64 บิต
- ถ้าไม่เห็นคำว่า “รุ่น x64” แสดงอยู่ภายใต้ ระบบ แสดงว่าคอมพิวเตอร์ของคุณใช้ Windows XP รุ่น 32 บิต
ในกรณีที่คอมพิวเตอร์ของคุณใช้ Windows Vista หรือ Windows 7
คลิกปุ่ม Start (เริ่ม) คลิกขวาที่ Computer (คอมพิวเตอร์) แล้วคลิก Properties(คุณสมบัติ)
เสร็จแล้วจะเห็นหน้าต่างตามรูปด้านล่าง ในส่วนของ System Type ให้ดูว่าเป็น 32-bit หรือ 64-bit
- รุ่นของ Windows Vista หรือ Windows 7 ที่คุณกำลังใช้งานจะปรากฏภายใต้รุ่นของ Windows ที่อยู่ใกล้ด้านบนของหน้าต่าง
ในกรณีที่คอมพิวเตอร์ของคุณใช้ Windows 8
ให้คุณเลื่อนเม้าส์มาที่มุมล่างซ้ายของจอ แล้วคลิ้กขวา แล้วเลือก Control Panel
เสร็จแล้วให้เลือกที่คำว่า System จะเจอหน้าตาตามรูปด้านล่างครับ
จะเห็นหน้าต่างตามรูปด้านล่าง ในส่วนของ System Type ให้ดูว่าเป็น 32-bit หรือ 64-bit
แค่นี้ก็รู้แล้วครับว่าเครื่องของคุณใช้แบบไหนครับ 🙂