การตั้งค่า Password เพื่อความปลอดภัยยิ่งขึ้น

เมื่อวานผมได้ทำการเขียนถึงการเปลี่ยน Password ใน Hotmail ทำให้ผมนึกถึงว่า บางครั้ง(หรือหลายครั้งเลยแหละ) ที่เราผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญในการตั้ง Password ด้วยการตั้งแบบง่ายเกินไป ทำให้ผู้ไม่หวังดีคาดเดาได้ง่ายและนำข้อมูลของเราไปใช้ในทางที่ไม่ดีครับ วันนี้ผมเลยอยากจะขอแนะนำ “วิธีการตั้งค่า Password เพื่อความปลอดภัยยิ่งขึ้นครับ” การตั้งค่า Password ที่ไม่ควรทำ ใช้ชื่อนามสกุลตัวเอง,คนรัก,หรือคนรอบข้าง ใช้เลขซ้ำ,เลขคู่สลับไปมา ใช้เบอร์โทรศัพท์ตัวเองหรือเบอร์โทรศัพท์ที่ตนเองใช้บ่อยๆ ใช้เลขวันเดือนปีเกิดตัวเองหรือคนรอบข้าง ใช้ตัวเลขที่เรียงอยู่บนคีย์บอร์ด เช่น asdffdsa หรือชื่ออื่นๆ ที่คาดเดาได้ง่าย เช่น ชื่อสถานที่ำทำงาน ชื่อสัตว์เลี้ยงที่รัก ฯลฯ แนวคิดในการตั้งค่า Password เพื่อความปลอดภัย 1. จำนวนตัวอักษร แม้โดยทั่วไประบบมักจะแนะนำให้ใช้อยู่ที่ 6-8 ตัวอักษร แต่ถ้าเพื่อความปลอดภัยมากขึ้น ผมแนะนำว่า “อย่างต่ำควรจะมากกว่า 8 ตัวอักษรขึ้นไปครับ” 2. คุณอาจจะตั้ง Password เป็นคำที่มีทั้งตัวอักษรและตัวเลขผสมกัน (ไม่ใช่เรียงกันนะครับ) 3. หรือลองตั้งโดยใช้คำที่เราคุ้นเคยเช่น “ทะเลพัทยา” แต่เปลี่ยนมาใช้แป้นคีย์บอร์ดภาษาอังกฤษแทน เมื่อพิมพ์แล้วจะได้เป็น “mtg]rympk” ซึ่งคาดเดาได้ยากขึ้นกว่าเดิมเยอะครับ […]

วิธีการเปลี่ยน Password ใน Hotmail

ต้องยอมรับว่าหลายคนนั้่นใช้ Hotmail เป็นอีเมล์หลักของตนเอง แต่หลายครั้งอาจจะประสบปัญหาว่า “สงสัยว่าจะถูกคนอื่นแอบเข้าใช้งานอีเมล์ของตัวเอง” ซึ่งหากมีสัญญาณแบบนี้ผมถือว่าอันตรายครับ เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดในอีเมล์ของเราและเราซึ่งเป็นเจ้าของอีเมล์แต่ก็ไม่สามารถที่จะเข้าอีเมล์ตัวเองได้อีกเลย คงเป็นเรื่องน่าเศร้านะครับ วันนี้ผมเลยอยากจะนำเสนอวิธีการป้องกันง่ายๆ ก็คือการเปลี่ยน Password อีเมล์ของคุณครับ หลังจากที่คุณเข้ามาที่ส่วนของกล่องจดหมายของ Hotmail ให้คุณดำเนินการตามนี้ครับ 1. อันดับแรกให้คุณคลิ้กที่ “ตัวเลือก” ที่อยู่ด้านขวามือของจอครับ 2. เสร็จแล้วให้เลือกที่ “ตัวเลือกอื่นๆ” ครับ 3. ระบบจะพามาหน้า “ตัวเลือกของ Hotmail” ให้คุณเลือกที่หัวข้อ “รายละเอียดบัญชี (รหัสผ่าน นามแฝง โซนเวลา)” 4. ในส่วนของรหัสผ่านให้คุณเลือก “เปลี่ยน” เพื่อทำการเปลี่ยนรหัสใหม่ให้ปลอดภัยขึ้นครับ เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ ง่ายจริงๆ ครับ 🙂 บทความนี้เขียนขึ้นโดย Kittin จากเว็บไซต์ manacomputers.com ได้รับความคุ้มครองตามสัญญาอนุญาต CC 3.0