เมื่อวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) จัดอภิปรายเรื่องผลกระทบจากพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ซึ่งเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ทาง Ann Lavin ตัวแทนจาก Google ระบุถึงปัญหาของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ของไทยว่ามีปัญหาหลักคือมาตรา 15 ที่ระบุถึงความผิดของผู้ให้บริการ หลายคนเลยอยากจะรู้ว่า เนื้อหามาตรา 15 เป็นอย่างไร ร้ายแรงขนาดที่ทำให้ google ไม่กล้าทำธุรกิจในประเทศไทย วันนี้ทางมานาคอมพิวเตอร์เลยเอาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มาให้ดูกันครับ
มาตรา 15 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
ก่อนที่เราไปดูที่มาตรา 15 ผมอยากให้คุณลองดูมาตรา 14 ก่อนนะครับ เพราะมีความเกี่ยวข้องกัน
มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
- นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
- นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
- นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
- เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม 1 2 3 หรือ 4
มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 14
เนื่องจากประเทศไทยมีความเสี่ยงที่ทั้งผู้ใช้งานและผู้บริการอาจจะกระทำการใดที่อาจจะเข้าข่ายการกระทำความผิดตามมาตรา 14 และ 15 ได้โดยง่าย หากเราไม่มีการปรับ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ให้ใช้สำหรับคดีทางคอมพิวเตอร์อย่างเดียว Google ก็คงจะไม่กล้าเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย ทั้งที่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้กูเกิลสามารถเข้าไปทำธุรกิจได้ ทั้ง สิงคโปร์, มาเลเซีย, และอินโดนีเซีย