Maria Montessori– วันนี้ (31 สิงหาคม 2555) เป็นวันครบรอบ 142 ปีของวันเกิดของ มาเรีย มอนเตสโซรี่ วันนี้มานาคอมพิวเตอร์เลยอยากจะขอนำประวัติของท่านผู้นี้มานำเสนอให้ทราบกันครับ
ประวัติและข้อมูลของ มาเรียมอนเตสซอรี ( Maria Montessori)
มอนเตสซอรี (Montessori) เป็นชื่อของแพทย์หญิง มาเรีย มอนเตสซอรี แพทย์หญิงชาวอิตาลี เธอจบการศึกษาแพทยศาสตร์ และได้มาทำงานกับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี จากการที่ได้ทำงานกับเด็กเหล่านี้ เธอพบว่าเด็กดังกล่าวสามารถมีพัฒนาการที่ดีได้ หากเด็กเหล่านั้นได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธี จากวิธีการแก้ปัญหาและช่วยเหลือเด็กโดยวิธีดังกล่าว ทำให้เธอได้รับการยกย่องจากวงการแพทย์และการศึกษา จากนั้นเธอจึงได้ริเริ่มพัฒนาระบบการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา คนหูหนวก และได้รับเด็กที่มีความบกพร่อง เพื่อให้เด็กเหล่านั้นได้มีโอกาสเข้าสอบรวมกับเด็กปกติของรัฐ และเมื่อเธอทำวีธีการเหล่นี่้ ก็พบว่า เด็กที่มีความบกพร่องเหล่านั้น สามารถสอบผ่านได้อย่างดีทุกคน ด้วยความทุุ่มเทของเธอ จึงทำให้เธอได้ตัดสินใจเข้าศึกษาปรัชญาและจิตวิทยา
ต่อมา ค.ศ. 1907 มาเรีย มอนเตสซอรี ได้รับตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองของบ้านเด็ก ซึ่งมีหน้าที่คอยดูแลเด็ก 3 – 7 ปี เธอจึงประยุกต์เอาวิธีการสอนเด็กบกพร่องทางสติปัญญามาใช้กับเด็กเหล่านี้ โดยให้เด็กจับต้องสื่อหรือเล่อุปกรณ์ต่างๆ ที่เธอประดิษฐ์ขึ้น โดยให้เด็กเลือกอุปกรณ์เอง แลทำให้เด็กเรียนรู้อย่างมีสมาธิและสร้างสรรค์ โดยวิธีการเหล่านี้ทำให้เด็กเหล่านี้สามารถปฎิบัติตามและเขียนหนังสือได้ ตั้งแต่อายุ 4 – 5 ปี โดยเด็กเหล่่นี้สามารถประสมคำ อ่านคำและฝึกเขียนหนังสือได้ด้วยตนเองตามความสนใจและสามารถทำได้ด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน
ผลงานของ ดร. มาเรีย มอนเตสซอรี เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น วงการศึกษา วงการแพทย์ และพ่อแม่ผู้ปกครองก็ได้แนวคิดมาใช้ในการดูแลเด็กในปกครองเพื่อพัฒนาให้เด็กเหล่านี้กลายเป็นบุคคลทั่วไปที่สังคมยอมรับและสามารถใช้ชีวิตได้ในสังคมทั่วไป
ส่วนนี้เป็นข้อมูลภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ Maria Montessori ครับ
A Brief Synopsis of the Montessori Method
The Montessori Method is an educational method for children, based on theories of child development originated by Italian educator Maria Montessori in the early 20th century. The method is characterized by an emphasis on self-directed activity on the part of the child and clinical observation on the part of the teacher. It stresses the importance of adapting the child’s learning environment to his or her developmental level, and of the role of physical activity in absorbing academic concepts and practical skills. Montessori is not a system for training children in academic studies; nor is it a label to be put on educational materials. It is a revolutionary method of observing and supporting the natural development of children. Montessori educational practice helps children develop creativity, problem solving, critical thinking and time-management skills, to contribute to society and the environment, and to become fulfilled persons in their particular time and place on Earth.
Dr. Montessori felt that the goal of early childhood education should not be to fill the child with facts from a preselected course of studies, but rather to cultivate their own natural desire to learn. In the Montessori classroom this objective is approached in two ways: first, by allowing each child to experience the excitement of learning by their own choice rather than by being forced; and second, by helping the child to perfect all their natural tools for learning, so that their ability will be at a maximum in future learning situations. The Montessori materials have this dual long-range purpose in addition to their immediate purpose of giving specific information to the child.
Dr. Montessori always emphasized that the hand is the chief teacher of the child. In order to learn there must be concentration, and the best way a child can concentrate is by fixing their attention on some task the child is performing with their hands. All the equipment in a Montessori classroom allows the child to reinforce their casual impressions by inviting the child to use their hands for learning.
Dr. Maria Montessori-
The Montessori method is a result of the experience and discoveries of Dr. Maria Montessori (1870-1952). Upon graduation as the first woman medical doctor in Italy, Dr. Montessori became interested in the education and training of special needs children.
Dr. Montessori’s career began with a group of disadvantaged children in 1907 when she opened her famous Casa dei Bambini. Through her observations of and work with the children, she discovered their remarkable, almost effortless ability to absorb knowledge from their surroundings. Children teach themselves! This simple and profound truth inspired Dr. Montessori’s lifelong pursuit of educational reform, curriculum development, methodology, psychology, teaching and teacher training, all based on her dedication to further the self-creating process of the child.
Dr. Montessori designed materials and techniques that allowed her children to work in areas previously considered beyond their capacity. Dr. Montessori’s great triumph came when these children took state examinations along with other children, and her children excelled in the exam results.
เพิ่มเติม ผมเห็นข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ การสอนแบบมอนเตสซอรี่
ที่มา http://www.sombunwit.ac.th/about/montessori.html
หลักสูตรการสอนแบบ Montessori ดร. มาเรีย มอนเตสซอรี่ เป็นผู้ริเริ่มคิด และจัดตั้งจากความเชื่อในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในระยะเริ่มต้นว่า“จุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาในระยะแรกนั้น ไม่ใช่การเอาความรู้ไปบอกให้เด็ก แต่ควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติของเขา”
การที่จะช่วยให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามขั้นตอนของความสามารถนั้น ควรจะต้องพัฒนา การสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการของเด็ก ที่ต้องการจะเป็นอิสระในขอบเขตที่กำหนดไว้ให้ ตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อมอย่างสมบูรณ์ และพิถีพิถัน
การสอนแบบ Montessori ได้มาจากการที่ ดร. มาเรีย มอนเตสซอรี่ ได้สังเกตเด็กในสภาพที่เป็นจริงของเด็ก ไม่ใชสภาพที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กเป็น จากการสังเกตเด็กจึงได้พัฒนาวิธีการสอน การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อม และอุปกรณ์การสอนต่างๆขึ้นมาใช้
ปรัชญา และหลักการของการสอนแบบ Montessori :
เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือ ในสภาพที่แตกต่างไปจากผู้ใหญ่ เราต้องยอมรับนับถือเด็กในลักษณะเฉพาะของเด็กแต่ละคน เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ควรจัดการศึกษาให้เด็กแต่ละคนตามความสามารถ และความต้องการตามธรรมชาติของเขา โดยพัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการของเด็ก
เด็กมีจิตซึมซาบได้ มนุษย์เรานี้เป็นผู้ให้การศึกษาแก่ตนเอง และเปรียบจิตของเด็กเหมือนฟองน้ำ ซึ่งจะซึมซาบข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม เด็กใช้จิตในการหาความรู้ ซึมซาบเอาสิ่งต่างๆเข้าไปในจิตของตนเองได้ ในการพัฒนาของจิตที่ซึมซาบได้ มีทั้งระดับที่เราทำไปโดยที่รู้สึกตัว และโดยไม่รู้สึกตัว อายุตั้งแต่เกิด ถึง 3 ขวบ เป็นช่วงที่จิตซึมซาบโดยไร้ความรู้สึก โดยการพัฒนาประสาทที่ใช้ในการเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การดมกลิ่น และการสัมผัส เด็กจะซึมซาบทุกสิ่งทุกอย่าง
ช่วงเวลาหลักของชีวิต คือช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด สำหรับการเรียนรู้ในระยะแรก เป็นช่วงพัฒนาสติปัญญา และเด็กสามารถเรียนทักษะเฉพาะอย่างได้อย่างดี ครูจะต้องช่างสังเกตและใช้ประโยชน์จากช่วงเวลานี้ ในการจัดเตรียมการเรียนการสอนให้สมบูรณ์ที่สุด
การเตรียมสิ่งแวดล้อม มอนเตสซอรี่เชื่อว่า เด็กเรียนได้ดีที่สุดในสภาพการจัดสิ่งแวดล้อม ที่ได้ตระเตรียมเอาไว้อย่างมีจุดหมาย การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อมเช่นนี้ เพื่อให้เด็กได้มีอิสระจากการควบคุมของผู้ใหญ่ เด็กจะได้ทำกิจกรรมต่างๆตามความคิดของตนเองบ้าง การศึกษาด้วยตนเอง เด็กสามารถเรียนได้ด้วยตนเองจากการที่เด็กมีอิสระในสิ่งแวดล้อมที่จัดเตรียมไว้อย่างสมบูรณ์ การศึกษาด้วยตนเอง ควรจะมีบทบาทมากขึ้นในวงการศึกษาและควรจะเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางในการเรียนเพิ่มขึ้น ลดวิธีการให้ครูเป็นศูนย์กลางในการเรียน
จุดมุ่งหมายของการสอนแบบ Montessori :
จุดมุ่งหมายของการศึกษาแบบ Montessori คือช่วยพัฒนา หรือให้เด็กมีอิสระในด้านบุคลิกภาพของเด็กในวิถีทางต่างๆ อย่างมากมาย สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนในระบบ Montessori คือการจัดระบบเพื่อสะท้อนถึงศักยภาพที่แท้จริงและความต้องการของเด็กเพื่อเด็กจะได้พัฒนาบุคลิกภาพของเขา ลักษณะการสอนระบบนี้ เด็กจะก้าวหน้าไปตามธรรมชาติของการพัฒนาการ เด็กมีอิสรภาพในการเลือก จากสิ่งแวดล้อมที่มีสิ่งต่างๆ ซึ่งสนองความพอใจ และความต้องการภายในความรู้สึกของเขา เป็นการจัดระบบของตนเอง เพื่อเด็กจะได้ปรับตัวเข้ากับสภาพของชีวิต
มอนเตสซอรี่ กล่าวย้ำถึงสิทธิของเด็กในการพัฒนาบุคลิกภาพของเขาในการเรียน สิทธิที่จะมีอิสระในการทำกิจกรรม สำรวจโลกสำหรับตัวของเขาเอง และก็เรียกร้องสิทธิในการที่จะมีสภาพการทำงานที่เหมาะสม
หลักสูตรของการสอนแบบ Montessori :
วิถีทางของการเรียนการสอนแบบ Montessori นั้น เป็นหลักการที่คำนึงถึงเด็ก ความต้องการของเด็กในการเรียน ได้มีการตระเตรียมสิ่งแวดล้อมให้เด็กได้ทำงานด้วยตนเอง สิ่งแวดล้อม และเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆนั้น ได้จัดระบบไว้เพื่อให้เด็กได้พัฒนาตนเอง โปรแกรมจัดเอาไว้ให้เด็กได้เป็นผู้เรียนที่มีอิสระ การควบคุมความผิดพลาดในการทำงาน ก็ด้วยการใช้วัสดุเหล่านั้นเอง และสิ่งแวดล้อมที่จัดเอาไว้ให้นี้เอง เป็นตัวที่ทำให้เด็กมีอิสระ
หลักสูตรพื้นฐานสำหรับเด็กอายุ 3 ถึง 6 ขวบ แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ :
- การศึกษาทางด้านทักษะกลไก
- การศึกษาทางด้านประสาทสัมผัส
- การตระเตรียมสำหรับการเขียน และคณิตศาสตร์
การจัดการเรียนการสอนแบบ Montessori :
โรงเรียนที่ใช้การสอนแบบ Montessori นั้น กิจกรรมถือเป็นส่วนสำคัญของสิ่งต่างๆ ที่ดำเนินไปในโรงเรียน เด็กเล็กควรจะเรียนด้วยร่างกายทั้งหมด โดยเน้นทางด้าน การฝึกฝนทางประสาทสัมผัส กิจกรรม หรืองานที่เด็กทำจะต้องมีความหมาย อุปกรณ์การเรียนได้วางรูปแบบเอาไว้ให้เด็กได้ทำงานต่างๆ เป็นไปตามขั้นตอน ซึ่งจะกระตุ้นให้เด็กได้ทำงานต่อไป การเขียนก็เป็นจุดรวมของทั้งการเห็น การได้ยินและการสัมผัส การแสดงออกทางการเขียนจะผ่านขั้นตอนต่างๆ จากการสัมผัสรูปทรงเรขาคณิต สัมผัสรูปพยัญชนะ สระ จากบัตรตัวอักษรและกระดาษทราย ใช้ดินสอสี ลากไปตามกรอบแผ่นภาพโลหะ และเติมลายเส้นไปในกรอบแผ่นภาพโลหะที่ว่างไว้ ประสมคำโดยใช้ตัวอักษรต่างๆ และเขียนคำลำดับจากรูปธรรมไปสู่นามธรรมนี้ เป็นต้น
แนวคิดแฝงอยู่ในการจัดอุปกรณ์การเรียน
ในการทำงาน ครูจะต้องคอยสังเกตว่า เด็กพร้อมที่จะเรียนอุปกรณ์ในขั้นตอนต่อไปหรือยัง ตามลำดับความยาก – ง่าย หรือตามที่นักเรียนร้องขอ การแสดงอุปกรณ์ มี 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ :
- ขั้นที่ 1 : เชื่อมโยงการรับรู้ทางประสาทสัมผัส กับชื่อ
- ขั้นที่ 2 : รู้จักชื่อของสิ่งของ
- ขั้นที่ 3 : จำชื่อได้สอดคล้องกับอุปกรณ์
การสอนแนวนี้จะเปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นพบสิ่งต่างๆด้วยตัวเอง โดยเน้นการฝึกฝนทางด้าน ประสาทสัมผัสมือทั้งสองข้างของเด็กๆ ซึ่งถือว่าเป็นครูคนสำคัญของเด็ก และแนวคิดนี้เชื่อว่า ถ้าเด็กได้มีบางสิ่งบางอย่างที่ จะจับต้องและบิด หรือหมุน ด้วยมือ สมองจะทำหน้าที่ตอบสนองได้ วัสดุอุปกรณ์ จึงจัดว่าเป็นหัวใจสำคัญของการสอนแนวนี้ ความมีอิสรภาพ การศึกษาด้วยตนเอง และการฝึกฝนทางประสาทสัมผัสนี้เอง คือจุดสำคัญของการสอนแนว Montessori ที่ใช้กันทั่วโลกจนถึงปัจจุบันมากว่า 100 ปี โรงเรียน Montessori ทั่วโลก จะใช้อุปกรณ์การสอนแบบเดียวกันทั้งหมด ขณะเดียวกันก็มีการอนุโลมให้ใช้อุปกรณ์บางอย่างที่ทำจากวัสดุท้องถิ่น แต่ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
ทางการเรียนรู้ที่กำหนด
ห้องเรียนของการสอนแนวนี้ จะมีลักษณะพิเศษ คือเปิดโล่ง เด็กจะได้ทำกิจกรรมอย่างอิสระตามความต้องการของตน ในห้องเรียนจะไม่มีโต๊ะและเก้าอี้ครู ภายในห้องมีชั้นวางของ ซึ่งอยู่ในระดับสายตา บนชั้นมีอุปกรณ์ Montessri จัดวางไว้เป็นหมวดหมู่ มีตำแหน่งการวางที่แน่นอนและมีเพียง 1 ชิ้น ต่อ 1 อุปกรณ์ เพื่อฝึกให้เด็กได้รู้จักรอคอย
ครูผู้สอนจะต้องเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการสอน จากศูนย์ฝึกอบรมครูของระบบการสอนแบบ Montessori การประเมินผลของระบบ Montessoriจะใช้การสังเกตความสามารถในการทำกิจกรรมของเด็กในแต่ละกลุ่มวิชาการ ใช้อุปกรณ์การเรียนในแต่ละชิ้น