อีกกีฬาหนึ่งที่ได้รับความนิยมในบ้านเราไม่น้อยนั่นก็คือ บาสเกตบอล (London 2012 Basketball) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกีฬาที่ถูกบรรจุไว้ในการแข่งขันครั้งนี้ด้วยครับ
คุณสามารถติดตามความคืบหน้า,ผลการแข่งขัน,วีดีโอหรือรูปภาพ เกี่ยวกับการแข่งขันบาสเกตบอลในโอลิมปิกครั้งนี้ได้ที่ http://www.london2012.com/basketball/ ครับ
กีฬาบาสเกตบอลในโอลิมปิก
กีฬาบาสเกตบอลในโอลิมปิก (อังกฤษ: Basketball) ในโอลิมปิก ค.ศ. 1904 ที่เมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา บาสเกตบอลชายได้เป็นกีฬาสาธิต ปี ค.ศ. 1908 มีการเปลี่ยนแปลงกฎจากที่ให้ผู้เล่นที่ทำฟาล์ว 5 ครั้ง ถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้เล่นในเกมนั้น เป็นการให้อีกฝ่ายได้ชู้ตลูกโทษ 1 หรือ 2 ลูก บวกเพิ่มพิเศษอีก 1 ลูก ในปี 1936 กีฬาบาสเกตบอลชายได้รับการบรรจุให้เป็นกีฬาชิงเหรียญในโอลิมปิกเป็นครั้งแรก ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี คราวนั้นยังแข่งขันกลางแจ้งบนคอร์ทดินของสนามเทนนิส ทีมชาติสหรัฐฯ ซึ่งตอนนั้นมีชื่อเรียกว่า แมคเฟอร์สันโกล๊บออยเลอร์ส (McPherson Globeoilers) ได้เหรียญทองโอลิมปิกจากการเอาชนะทีมแคนาดาไปด้วยคะแนน 19 : 8 ที่ได้แต้มกันน้อยนั้นก็เป็นผลมาจากฝนตกสนามเฉอะแฉะ ทำให้ยากต่อการเล่น โดยเฉพาะการเลี้ยงบอล ส่วนบาสเกตบอลหญิงโอลิมปิกเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1976 ที่เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา
ทีมบาสเกตบอลสหรัฐฯ เป็นทีมที่น่าเกรงขามที่สุด และครองความเป็นจ้าวมานานกว่า 50 ปี ได้เหรียญทองบาสเกตบอลโอลิมปิก 7 เหรียญแรก เสียให้กับสหภาพโซเวียต 3 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1972 ค.ศ. 1980 และ ค.ศ. 1988 แต่ในปี 1980 นั้น ทีมสหรัฐฯไม่ได้ร่วมแข่ง เนื่องจากบอยคอตต์สหภาพโซเวียต แล้วปี 1992 ดรีมทีมของสหรัฐฯก็ได้เหรียญทอง โดยทำคะแนนทิ้งห่างคู่แข่งเฉลี่ยเกมละ 40 คะแนน
หลังจากนั้นทีมสหรัฐฯ ก็อยู่อันดับต้นๆ มาตลอด ส่วนทีมรองๆ ลงไปนั้น มีทีมต่างๆในยุโรป เช่น โครเอเชีย ยูโกสลาเวีย และลิธัวเนีย ที่พัฒนาฝีมือขึ้นมาอย่างรวดเร็ว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Wikipidia
ประวัติกีฬาบาสเกตบอล
กีฬาบาสเกตบอลเป็นกีฬาประเภททีม มีผู้เล่นฝ่ายละ ๕ คน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำลูกบาสเกตบอลไปโยนลงห่วงประตูของฝ่ายตรงกันข้ามให้ได้มากที่สุด โดยมีทักษะการเล่น ได้แก่ การส่ง – รับลูกการเลี้ยงลูกและการยิงประตู
กีฬาบาสเกตบอลมีกำเนิดขึ้น เป็นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มจากดร. เจมส์ เอ เนสมิท (JamesA.Naismith) ได้คิดขึ้นเพื่อเล่นในโรงพลศึกษาของโรงเรียนฝึกอบรม ของสมาคมวายเอ็มซีเอนานาชาติ
(International Young Men’s Christian Association Training School)ที่เมือง สปริงฟีลด์ มลรัฐแมสซาซูเซตส์ ในช่วงที่มีหิมะตก เมื่อ ค.ศ. ๑๘๙๑ (พ.ศ. ๒๔๓๔) โดยใช้ตะกร้าลูกพีช ๒ ใบแขวนเป็นประตู จึงทำให้กีฬานี้ได้ชื่อว่าบาสเกตบอล (Basketball) การเล่นครั้งนั้นใช้ ลูกฟุตบอลเป็นลูกบอล มีผู้เล่นทั้งหมด ๑๘ คน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่ายฝ่ายละ ๙ คน มีกฎการเล่น ๔ ข้อ คือ
- ห้ามถือลูกเคลื่อนที่
- ห้ามมิให้ผู้เล่นปะทะตัวกัน
- ประตูอยู่ระดับศีรษะและขนานพื้น
- ผู้เล่นจะถือลูกบอลนานเท่าใดก็ได้ และผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องไม่ถูกตัวผู้เล่น
ต่อมามีการปรับปรุงการเล่นเป็น ๑๓ ข้อโดยลดผู้เล่นเหลือฝ่ายละ ๕ คน เนื่องจากในการเล่นเกิดการ ปะทะกันเพราะสนามแคบ ดังนั้นจึงทำให้เกมการเล่นสมบูรณ์ยิ่งขึ้นทั้งยังลดการปะทะกันอีกด้วย ในปัจจุบันกติกาการเล่นดังกล่าวยังคงปรากฏอยู่ ณ โรงพลศึกษาเมืองสปริงฟีลด์ คือ
- การโยนลูกจะใช้มือเดียวหรือสองมือโดยไปในทิศทางใดก็ได้
- การตีลูกจะใช้มือเดียวหรือสองมือตีไปทิศทางใดก็ได้
- ผู้เล่นจะพาลูกบอลวิ่งไม่ได้ และต้องส่งตรงจุดรับลูกบอล ยกเว้นขณะที่วิ่งมารับลูกด้วยความเร็วให้เคลื่อนไหวได้เล็กน้อย
- ต้องจับลูกบอลด้วยมือทั้งสองข้าง โดยไม่ให้ใช้ส่วนอื่นของร่างกาย
- การเล่นจะชน คือผลักหรือทำให้ฝ่ายตรงข้ามล้ม ถือว่าฟาวล์หนึ่งครั้ง ถ้าฟาวล์ครั้งที่สองให้ออกจากการแข่งขัน จนกว่าจะมีผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยิงประตูได้จึงจะกลับมาเล่นได้อีก ถ้าเกิดการบาดเจ็บขณะเล่นไม่อนุญาตให้มีการเปลี่ยนตัว
- การทุบด้วยกำปั้นถือว่าผิดกติกาให้ปรับเช่นเดียวกับ ข้อ 5
- ทีมใดทำฟาวล์ติดต่อกัน 3 ครั้ง ให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ประตู
- การได้ประตูทำได้โดยการโยนหรือปัดลูกบอลให้ขึ้นไปค้างบนตะกร้า
- เมื่อลูกบอลออกนอกสนาม ผู้เล่นนที่จับลูกบอลคนแรกเป็นผู้ทุ่มลูกเข้ามาเล่นต่อ กรณีที่ไม่สามารถรู้ได้ว่าใครก่อนหลังผู้ตัดสินจะส่งลูกบอลเข้ามาให้ ผู้ส่งจะต้องส่งลูกบอล
- เข้าสนามภายใน 5 วินาที ถ้าช้ากว่านี้จะให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามส่งแทน ถ้าผู้เล่นถ่วงเวลา การเล่นให้ปรับฟาวล์
- ผู้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินผู้ฟาวล์ และลงโทษผู้เล่น
- ผู้ตัดสินทำหน้าที่ตัดสินลูกบอลออกนอกสนาม และรักษาเวลา บันทึกจำนวนลูกที่ได้ และทำหน้าที่ทั่วไปของผู้ตัดสิน
- การเล่นแบ่งเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 15 นาที
- ฝ่ายที่ทำประตูได้มากกว่าเป็นฝ่ายชนะหัวหน้าทีมจะตกลงกันถ้าคะแนนเท่ากัน
- เพื่อต่อเวลาแข่งขัน ถ้าฝ่ายใดทำประตูได้ก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ
กติกานี้ใช้มาจนถึง ค.ศ. ๑๙๓๗ (พ.ศ. ๒๔๘๐) จึงได้ปรับปรุงแก้ไขครั้งใหญ่เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ ๑๑ ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศสเยอรมนี และใน ค.ศ. ๑๙๓๙(พ.ศ. ๒๔๘๒) ดร.เจมส์ เอ. เนสมิท ก็เสียชีวิตลงก่อน จะได้เห็นความสำเร็จ และความยิ่งใหญ่ในกีฬาบาสเกตบอลที่เขาคิดค้นขึ้น ต่อมาจากนั้นกีฬาบาสเกตบอลก็แพร่หลายพัฒนาการเล่นเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก องค์กรที่เกี่ยวข้องกับกีฬาบาสเกตบอลในระดับนานาชาติ ได้แก่ สหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ (ชื่อภาษาอังกฤษ International Amateur Basketball Federation ชื่อภาษาฝรั่งเศส Fe’de’ration International de Basketball Amateurใช้ชื่อย่อว่า FIBA) นอกจากนี้ยังมีองค์กรในระดับทวีป เช่น สมาพันธ์บาสเกตบอลเอเชีย (Asian Basketball Confederation หรือ ABC) เป็นต้น