วันนี้ออกมานอกสถานที่ครับ เลยอาศัยร้านที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตเขียนบทความนี้ มีปัญหาหนึ่งที่ผู้ใช้งานมักจะเจอบ่อยๆ เวลาต่อเน็ตก็คือ “ข้อความ Limited or no connectivity ขึ้นตรงมุมขวาล่างของจอ” วันนี้เรามาลองดูสาเหตุของปัญหานี้และแนวทางการแก้ไขปัญหานะครับ
รูปแบบของปัญหา Limited or no connectivity
โดยส่วนใหญ่แล้ว ปัญหานี้มักจะพบกับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านทางระบบไร้สาย (Wireless) หรือต่อ Wi-Fi (บางครั้งก็อาจจะเกิดกับเครื่องที่ต่อเน็ตด้วยสายแลนครับ) ซึ่งอาการจะเกิดขึ้นหลังจะที่ระบบพยายามทำการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสักระยะหนึ่งแล้ว จะปรากฎเครื่องหมายตกใจ “!” พร้อมกับข้อความว่า Limited or no connectivity ปรากฎขึ้นที่มุมขวาล่างของจอครับ
สาเหตุของปัญหา Limited or no connectivity
โดยส่วนมากแล้ว ปัญหานี้มักจะเกิดจากสาเหตุหลักๆ ประมาณ 3 สาเหตุครับ
1. สัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ปล่อยออกมานั้น มีผู้ใช้งานอยู่จำนวนมาก ซึ่งเมื่อคนเล่นอินเทอร์เน็ตเยอะ ทำให้ต้นทางต้องทำการส่งสัญญาณออกส่วนหนึ่ง ทำให้เครื่องของคนที่ แรงกว่าก็สามารถเกาะสัญญาณได้ เครื่องของคุณในตอนนั้นความแรงในการเกาะสัญญาณอาจจะสู้เครื่องอื่นไม่ได้ครับ
แนวทางการแก้ปัญหานี้ ให้คุณให้ลองทำการ Disconnect แล้วลองทำการต่อใหม่อีกสักครั้งสองครั้ง ก็น่าจะใช้งานได้ตามปกติแล้วครับ
2. โดนบล็อค MAC address แล้ว Router ไม่จ่าย IP ให้ ในกรณีนี้จะเป็นกรณีที่ผู้ให้บริการปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ต ทำการจำกัด MAC address เพื่อให้ใช้งานได้บางเครื่อง หรือ ไม่ให้เครื่องอื่นๆ นอกเหนือจา่กที่ผู้ให้บริการกำหนดสามารถใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ตนั้นได้ครับ
แนวทางการแก้ปัญหา ให้ลองทำการ Disconnect แล้วลองทำการต่อใหม่อีกสักครั้งสองครั้ง ถ้ายังใช้ไม่ได้ ให้คุณลองหาสัญญาณอินเทอร์เน็ตอันอื่นดีกว่าครับ
3. Driver มีปัญหา ในสองข้อแรก มักจะเกิดจากทางฝั่งที่ปล่อยสัญญาณออกมา แต่ปัญหานี้อาจจะเกิดขึ้นในกรณีที่ Driver ตัวรับสัญญาณอินเทอร์เน็ตฝั่งเครื่องของคุณไม่อัพเดทเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด อาจจะมีบั้กหรือ Error ที่มีผลต่อการเชื่อมต่อสัญญาณได้ครับ
แนวทางการแก้ปัญหานี้ ให้คุณทำการอัพเดท Driver ตัวรับสัญญาณของคุณใ้หเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด โดยอาจจะค้นหาจากเว็บไซต์ของผู้ผลิตคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์รับสัญญาณอินเทอร์เน็ตนั้นครับ
ลองดูนะครับ ทางมานาคอมพิวเตอร์หวังว่า จะช่วยแก้ปัญหา Limited or no connectivity ใ้ห้กับคุณได้ไม่มากก็น้อยนะครับ 🙂